บทความสำหรับน้อง ๆ หลาน ๆ ที่อยากไปร่วมม๊อบ
บทความโดย: โกสินธุ์ อัคครุ่งเรือง (นักจิตวิทยาให้คำปรึกษาและพัฒนาศักยภาพมนุษย์)
การได้เห็นเด็กวัยรุ่นสนใจการเมือง และสิทธิของพลเมืองมากขึ้นก็รู้สึกดีใจ
แต่ผมอยากจะให้คำแนะนำ หรือการเตรียมตัวก่อนไปร่วมม๊อบในฐานะ “คนรุ่นน้า” ที่เคยผ่านประสบการณ์มาบ้าง ทั้งการร่วมวงประท้วง ทั้งลงสมัคร สส. หาเสียง ทั้งแกนนำกลุ่ม.. บลา ๆ
หากสนใจจะไปร่วมชุมนุม หรือกลุ่มม๊อบ ตอบ 3 ข้อนี้ได้ ไปร่วมม๊อบอย่างภาคภูมิใจได้เลย
1. อย่าโกหกตัวเองนะ ไหนลองตอบสิ๊ว่า “ประชาธิปไตย” จริง ๆ แล้วมันคืออะไร? มันหมายถึงอะไร เราเข้าใจหรือรู้จักกับคำนี้มาจาก “เขา” หรือเปล่า จาก “เขาเล่าว่า” “เขาบอกว่า” แล้วเขาคนนั้นคือใคร มีความน่าเชื่อถือแค่ไหน งั้นวันนี้เรามาทำความเข้าใจคำนี้กัน
จากคู่มือประชาธิปไตยสําหรับประชาชน (2541: 33) และพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2493 ให้ความหมาย “ประชาธิปไตย” ว่าเป็น “รูปแบบการปกครองที่ถือมติปวงชนส่วนใหญ่” ซึ่งคำว่า “ประชาธิปไตย” มาจากคําว่า “ประชา” และ “อธิปไตย” เมื่อรวมกันแล้วหมายถึง อํานาจของประชาชน ดังคํากล่าวของอับราฮัม ลินคอล์น (ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา) ที่ว่า “การปกครองในระบอบประชาธิปไตยเป็นการปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน”
“ประชาธิปไตย” ถอดศัพท์มาจากภาษาอังกฤษว่า “Democracy” ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษากรีก 2 คําคือ“Demos” แปลว่า “ประชาชน” และ“Kratein” แปลว่าอํานาจ ได้อธิบายความหมายของคำว่า ประชาธิปไตย ไว้ว่า “อํานาจของประชาชน หรือประชาชนเป็นเจ้าของอํานาจ (โกวิท วงศ์สุรวัฒน: 2543: 67, อมร รักษาสัตย์: 2543: 12)
จากแนวคิดข้างต้น
สรุปได้ว่า การปกครองตามระบอบประชาธิปไตย เป็นการปกครองที่เป็นของประชาชน โดยประชาชน
และเพื่อประชาชน ตลอดจนเป็นหลักในการดําเนินชีวิตของคนในการอยู่ร่วมกันโดยสันติภายใต้ความเชื่อที่ว่า
คนเราเกิดมาเท่าเทียมกัน สิทธิเสรีภาพในการดําเนินชีวิตภายใต้ขอบเขตของกฎหมายซึ่งจะกำหนดไว้แน่นอน
ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ
กล่าวคือ มีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากรัฐตามกฎหมายและโอกาสที่จะได้รับการบริการต่าง ๆ และ มีสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกันในการเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการทางการเมือง และการปกครองที่มุ่งเน้นประโยชน์ของประชาชน ทั้งทางตรง และทางอ้อม
(ถ้าอยากรู้ลึกกว่านี้ว่ากระบวนการทางตรง
ทางอ้อมมีอะไรบ้าง ไปศึกษาเพิ่มเติมเอานะครับ)
2.
มีความรู้เรื่องนโยบายด้านการบริหารประเทศหรือการปกครองบ้างไหม? การปกครองแบบระบอบประชาธิปไตย ระบอบคอมมิวนิส ระบอบสมบูรณาสิทธิราชย์ต่างกันอย่างไร
แล้วอะไรดีกว่ากัน?
หากจะพูดถึงประเด็นนี้คงต้องตั้งคำถามแล้วให้ผู้อ่านทำการคิดวิเคราะห์กันเอาเอง
เพราะเรื่องนี้ชี้นำไม่ได้ พวกเราทุกคนสรุปได้ไหมว่า?
การปกครองแบบอเมริกา หรือจีน หรือญี่ปุ่น หรือเกาหลีเหนือ ดีกว่ากัน? เพราะจากที่ผมศึกษามาจนอายุจะเข้าหลักสี่ พบเจอการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลกหลายครั้ง
จนกระทั่งล่าสุดที่มีวิกฤตโควิด ก็ยังสรุปไม่ได้ว่าการปกครองระบอบไหนดีกว่ากัน?
แต่สิ่งหนึ่งที่สามารถรับรู้ได้คือ ไม่ว่ารูปแบบการปกครองแบบไหน มันก็คือ
“ทฤษฎี”
อยู่ที่การปรับประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับ วัฒนธรรม และพฤติกรรมของคนในประเทศ นั้น ๆ
มากกว่า ซึ่งโดยส่วนตัวผมยังคิดไม่ออกว่า “ด้วยนิสัยของคนไทยที่ยังขาดระเบียบวินัย
จะมีวันไปถึงระบอบประชาธิปไตยโดยสมบูรณ์หรือไม่?”
3. การที่พวกเราออกมาร่วมม๊อบ
เรากำลังตกเป็นเครื่องมือ หรือเหยื่อทางการเมืองหรือไม่? หัวข้อนี้ต้องบอกก่อนนะครับว่า หลายคนไม่เคยทำงานการเมือง อาจจะยังมองไม่เห็นภาพที่อยู่เบื้องหลังของคำว่า
“การเมือง” ผมอยากจะเล่าให้น้อง ๆ หลาน
ๆ ฟังว่า “การเมืองไทย เป็นเรื่องของผลประโยชน์ของคนกลุ่มน้อย
ที่มีอำนาจ” “ย้ำที่มีอำนาจ” ถ้าประชาชนตัวเล็ก
ๆ อย่างเราต้องการจะเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองเหล่านี้ อาจเป็นเรื่องยากที่จะเปลี่ยนมันในทีเดียว
แต่ถ้าอยากจะเปลี่ยนจริง ๆ ผมขอแนะนำ ให้เปลี่ยนแปลงที่ตัวเราเองก่อนดีกว่าครับ การที่พวก
น้อง ๆ หลาน ๆ ออกมาแสดงความคิดเห็นทางด้านการเมืองเป็นเรื่องที่ดี
ผมก็อยากให้ระบอบแย่ ๆ จบที่รุ่นพวกเรา แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น เรามาช่วยกันสนับสนุนคนดีเข้ามาบริหารประเทศให้ได้ก่อน
หยุดการโกง หยุดการทุจริต เลือกคนดีเข้าสภา มาบริหารประเทศ ไม่ใช่เลือกคนที่ให้เงิน
หรือให้ผลประโยชน์เราเข้ามีอำนาจ ถ้าพวกเราทุกคนช่วยกันทำตั้งแต่วันนี้ ระบอบการปกครองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นแน่
ๆ
ข้อนี้สรุปได้ว่า พวกเราควรไปทำความเข้าใจกับว่าคำว่า ประชาธิปไตย การเมือง และนักการเมือง เพราะคำเหล่านี้มีความหมายต่างกันครับ
และสุดท้าย ไม่ว่าผลการชุมนุมจะเป็นอย่างไร จะเหลืองก็ดี จะส้มก็ดี จะแดงก็ดี จะประชาธิปไตยก็ดี จะคอมมิวนิสก็ดี น้อง ๆ หลาน ๆ ทุกคนก็จะกลับไปสู่วัฎจักรการทำงาน หากจะทำอะไรควรคิดถึงอนาคตตัวเอง และโลกแห่งความเป็นจริงด้วยครับ อีกทั้งเบี้องหลังของเรายังมีพ่อแม่และคนที่เขารักรอเราอยู่ จงดูแลตัวเอง และเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ
ก่อนจะจบบทความ ขอเรื่องหนึ่งนะครับ ตามหลักจิตวิทยา ให้ข้อควรระวังที่สำคัญไว้ว่า “อย่าเอาบุคคลอันเป็นที่รักของคนส่วนใหญ่ในประเทศมาเป็นของเล่น เพราะความอดทนของคนมีขีดจำกัดที่แตกต่างกัน”
“จะคิดต่างก็ไม่ว่า ขอให้เป็นความคิดเพื่อให้ประเทศพัฒนา ดังนั้น เราควรทำในสิ่งที่เราคิดว่าดี เราควรทำในสิ่งที่เราคิดว่าถูกต้อง สรุปสั้น ๆ ง่าย ๆ เราควรทำในสิ่งที่เราควรทำ”
รักและเป็นห่วง
ทุกคน บทความนี้ข้อคิดจากคนที่มีหลานและอยู่ในวงการการเมือง ซึ่งหวังว่าข้อคิดนี้จะมีประโยชน์กับทุกคนที่ผ่านเข้ามาอ่านครับ