กว่าจะเดินทางมาถึงจุดนี้ต้องใช้เวลานานเท่าไหร่? ทุกคนต่างมีเป้าหมายในชีวิต ขึ้นอยู่กับว่าเราจะค้นพบสิ่งที่เราต้องการเมื่อใด และการเดินบนเส้นทางที่วาดไว้อย่างไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค สักวันเราจะเดินไปถึงจุดหมายที่เราตั้งไว้แน่นอน
วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558
หลักการใช้จิตวิทยาในการบริหารลูกน้อง กรณีการเกิดปัญหาในการทำงาน (กรณีทำผิดครั้งแรก)
พวกเราเคยปวดหัวกับการทำงานของลูกน้องเจ้าปัญหาไหม?
หากเราทำความเข้าใจถึงธรรมชาติของมนุษย์ เราจะรู้ว่าเมื่อใดที่เกิดปัญหาในงาน เราที่เป็นหัวหน้างานจะต้องจัดการด้วยวิธีการอย่างนี้...
แต่ถ้าใครยังไม่มีแนวทางในการจัดการกับลูกน้องที่ชอบสร้างปัญหา มาลองดูวิธีการปรับพฤติกรรมลูกน้องเจ้าปัญหาด้วยจิตวิทยากัน ซึ่งในหัวข้อนี้ผมมีแนวทางการปรับพฤติกรรมของลูกน้อง มาให้เพื่อน ๆ ลองนำไปปรับใช้กันดูครับ
1. เมื่อปัญหาเกิดขึ้นไม่ต้องไปถามหาว่าเป็นความผิดของใคร “เพราะธรรรมชาติของมนุษย์ ย่อมไม่ต้องการเป็นคนผิด”
2. สิ่งที่เราผู้เป็นหัวหน้างานควรทำอันดับแรกคือ หาทางแก้ไข ด้วยวิธีการที่ดีที่สุด และรวดเร็วที่สุด
3. หลังจากนั้นให้ใช้คำตำหนิสั้น ๆ เช่น “ครั้งนี้เป็นบทเรียน (ผม/พี่) หวังว่าคงจะไม่เกิดขึ้นอีก”
การตำหนิด้วยคำพูดสั้น ๆ เป็นการซื้อใจลูกน้อง และทำให้เขาจดจำได้มากกว่าการตำหนิอย่างรุ่นแรง
4. หลังจากตำหนิเขาแล้ว เราต้องวางเงื่อนไข เพื่อป้องกันไม่ให้เขากระทำผิดพลาดในครั้งต่อไป เช่น “และถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้อีกจะมีบทลงโทษ”
5. ถ้าลูกน้องของเรายังกระทำความผิดแบบเดิมซ้ำอีก เราต้องลงโทษอย่างจริงจัง ตามที่คุยกันไว้ ไม่ว่าลูกน้องจะกระทำผิดด้วยเหตุผลใดก็ตาม
หากเราทำได้ครบตามกระบวนการตามนี้ ลูกน้องของเราจะรู้ว่า “การกระทำเช่นนี้เป็นสิ่งผิด หากกระทำซ้ำอีกจะถูกลงโทษ” ซึ่งการเกิดการเรียนรู้ของลูกน้องในลักษณะนี้ จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามที่เราต้องการได้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)